ทำความรู้จักเครื่องสเปกโตรมิเตอร์

1059 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ทำความรู้จักเครื่องสเปกโตรมิเตอร์

เครื่องสเปกโตรมิเตอร์คืออะไร?

สเปกโตรมิเตอร์ (Spectrometers)  เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ใช้วัดสเปรกตรัมที่กระจัดกระจายจากวัตถุ โดยสามารถแยกและวัดส่วนประกอบสเปรคตรัมของลักษณะทางกายภาพนั้นๆได้

 

ชนิดของสเปกโตรมิเตอร์

  1. UV-Visible Spectrometer ใช้วัดค่าการดูดกลืนแสงอัลตราไวโอเลท (Ultraviolet) และแสงที่มองเห็นได้ (visible light) ในตัวอย่าง
  2. Infrared (IR) Spectrometer ใช้วัดค่าการดูดกลืนรังสีอินฟาเรดในตัวอย่าง
  3. Raman Spectrometer ใช้ในการวัดการกระเจิงของแสงจากโมเลกุล เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของโมเลกุลนั้นๆ
  4. Mass Spectrometer ใช้ในการวัดอัตราส่วนมวลต่อประจุ (mass-to-charge ratio) ของอนุภาคที่มีประจุ
  5. Nuclear Magnetic Resonance (NMR) Spectrometer ใช้วัดปฏิสัมพันธ์ของการหมุนของนิวเคลียส เมื่อวางตัวอย่างไว้ในสนามแม่เหล็กแรงสูงและคงที่

 

 

การประยุกต์ใช้เครื่องสเปกโตรมิเตอร์

  1. การวิเคราะห์ทางเคมี: การระบุและวัดปริมาณสารประกอบทางเคมี
  2. การวิเคราะห์วัสดุ: การกำหนดลักษณะของคุณสมบัติของวัสดุ
  3. การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม: การวัดสารมลพิษในอากาศและน้ำ
  4. การวินิจฉัยทางการแพทย์: การวิเคราะห์ตัวอย่างทางชีววิทยา เช่น เลือดและเนื้อเยื่อ
  5. ดาราศาสตร์: การศึกษาองค์ประกอบของดวงดาวและกาแล็กซี

จะเห็นได้ว่าสเปกโตรมิเตอร์มีหลากหลายชนิดและประยุกต์ใช้ได้กับงานที่หลากหลายขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน หนึ่งในชนิดของสเปคโตรมิเตอร์ที่มีการใช้งานแพร่หลายที่สุดคือ UV-visible spectrometer  ในบทความนี้ทาง สมาร์ทไซเอนซ์ จึงมาแนะนำวิธีการเลือกซื้อ/ใช้งานเครื่องสเปกโตรมิเตอร์โดยตรวจสอบจากข้อมูลจำเพาะส่วนประกอบต่างๆของเครื่องมือ
*ปล. แบรนด์ที่นำมาเป็นตัวอย่างคือ Onilab ซึ่งทางบริษัทเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ

ข้อมูลจำเพาะของเครื่องสเปกโตรมิเตอร์

  1. การรองรับตัวอย่าง บริเวณที่ใส่ตัวอย่างมีให้เลือกหลากหลายตามชนิดและปริมาณตัวอย่างของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น cuvette, microvolume, และ cell holder เป็นต้น
    หมายเหตุ: ในส่วนนี้ขึ้นกับชนิดและแบรนด์ว่าจะรองรับ


  2. ระบบออปติคอล สำหรับแบรนด์ Onilab ระบบออปติคอลจะถูกแบ่งเป็น ลำแสงเดี่ยว (Single beam) และ ลำแสงคู่ (Double beam) เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงเดี่ยว จะตรวจสอบการผ่านของแสงทั้งหมดจากแหล่งกำเนิดแสงผ่านตัวอย่าง ดังนั้น การวัดจึงทำโดยการเปรียบเทียบความเข้มของแสงก่อนและหลังผ่านตัวอย่างทางชีวภาพ ข้อดีคือมีราคาที่ต่ำ ส่วน ข้อเสียคือ มีความแม่นยำต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับลำแสงคู่ เครื่องวัดสเปกโตรโฟโตมิเตอร์แบบลำแสงคู่ คือ แสงจากแหล่งกำเนิดจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน มักใช้สำหรับการวัดการส่งผ่านหรือการสะท้อนแสงของสารวิเคราะห์ในตัวอย่าง ตัวอย่างที่ใช้ในที่นี้คือของแข็งโปร่งใสหรือทึบแสง เช่น แก้วขัดเงา หรือก๊าซที่สามารถใช้เป็นตัวทำละลาย สังเกตได้ว่าสารชีวเคมีหลายชนิดจะเปลี่ยนสี เนื่องจากดูดซับแสงที่มองเห็นได้หรือแสงอัลตราไวโอเลต แสงที่ผ่านทะลุสามารถวัดได้โดยวิธีการวัดสีภายในเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ แม้แต่สารชีวเคมีที่ไม่มีสีที่ใช้ในที่นี้ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นสารมีสีด้วยกระบวนการเดียวกันนี้ได้ เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับปฏิกิริยาการสร้างสีเพื่อให้ได้สารประกอบที่เหมาะสมสำหรับการวิเคราะห์สีในเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์


  3. ช่วงความยาวคลื่น ความยาวคลื่นของเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ขึ้นกับแหล่งกำเนิดแสง โดยสามารถแบ่งเบื้องต้นได้เป็นแหล่งกำเนิดแสงครอบคลุมช่วงแสงที่มองเห็นได้ (visible light: 400-700 nm), รังสีเหนือม่วง (Ultraviolet: 100-400 nm), และ รังสีใต้แดง (Infrared: 780-1000 nm)

    หลอดไฟที่ให้กำเนิดแสงมีตัวเลือกหลากหลายชนิด เช่น Deuterium lamp, Tungsten halogen lamp, และ Xenon lamp  โดย Tungsten halogen lamp จะให้แสงในช่วงแสงที่มองเห็นได้  Deuterium lamp ให้แสงช่วง UV เป็นหลัก ส่วน Xenon lamp จะครอบคลุมทุกช่วงความยาวคลื่น (UV-IR)  แต่อย่างไรก็ตาม Xenon lamp ยังคงมีค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานที่สั้นกว่า Deuterium lamp และ Tungsten halogen lamp
    ตัวอย่างเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ ทางแบรนด์ Onilab


  4. ความกว้างแถบสเปคตรัม (Spectral bandwidth) ความกว้างแถบสเปคตรัม หรือความกว้างของลำแสง จะส่งผลกับความละเอียด (Resolution) ของข้อมูลที่ได้  ความกว้างที่นิยมใช้กับเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ เช่น 0.5 nm, 1.0 nm, 2.0 nm, 4.0 nm, และ 5.0 nm ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องที่มีความกว้างสเปคตรัมที่ต่ำกว่าจะให้ผลที่ละเอียดกว่า ดังแสดงในรูป


 

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้