ความแตกต่างระหว่าง Polyclonal และ Monoclonal antibody

989 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความแตกต่างระหว่าง Polyclonal และ Monoclonal antibody

แอนติบอดีดูจะเป็นคำที่คนไทยคุ้นเคยกันมากขึ้นหลังจากช่วงที่เกิดโรคระบาดที่ผ่านมา โดยทั่วไปแล้ว คำว่า แอนติบอดี (Antibody) มักจะมาพร้อมกับคำว่า แอนติเจน (Antigen) เป็นของคู่กัน ในระบบภูมิคุ้มกัน นั้น หลังจากที่ร่างกายถูกทำให้ติดเชื้อโรค หรือสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าแอนติเจน ระบบภูมิคุ้มกันจะทำการ ผลิตแอนติบอดีมาเพื่อจัดการกับเชื่อโรคเหล่านั้นอย่างแม่นยำและเฉพาะเจาะจง จากคุณสมบัติเหล่านี้ทำให้แอนติบอดี มีความน่าสนใจและถูกนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการค้นคว้าและวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลาย

ในปัจจุบัน แอนติบอดีสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ Polyclonal และ Monoclonal antibody โดยวันนี้เราจะมาดูกันว่า ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

Polyclonal antibody

Polyclonal antibody เป็นลักษณะของแอนติบอดีที่มีความหลากหลายในการจับกับส่วนต่างๆ ของ antigen หนึ่งชนิด หรือมีลักษณะเป็นกลุ่มของโมเลกุลแอนติบอดีที่หลากหลาย ซึ่งหมายความว่าพวกมันสามารถจับกับหลายๆ ตำแหน่งของ antigen ได้พร้อมกันซึ่งแอนติบอดีที่เกิดขึ้นจากการตอบสนองของร่างกายสัตว์เพื่อต่อต้านสารหนึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแอนติบอดีชนิดนี้ด้วยกันทั้งสิน ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การผลิตแอนติบอดีที่เกิดขึ้นในช่วงแรกๆนั้นมักจะเป็นการผลิตแอนติบอดีชนิดนี้เป็นส่วนมาก ซึ่งทำได้โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ เช่น กระต่าย, หนู หรือ แกะ ด้วย แอนติเจน ที่ต้องการ หลังจากนั้นจะเก็บ serum จากสัตว์และแยกแอนติบอดีออกมา เพียงเท่านี้เราก็จะได้ Polyclonal antibody แล้ว โดยบทบาที่สำคัญของ Polyclonal antibody นี้ เกิดจาการที่มีความหลากหลายในการจับกับส่วนต่างๆ ของ แอนติเจน ทำให้ความสารถหรือความแรง (affinity) ในการจับ กับ แอนติเจน นั้นมีสูงมากเช่นกันจึงเหมาะกับการใช้เป็น แอนติบอดีสำหรับการป้องกันรักษาโรคต่างๆ เช่น ฉีดรอบแผลผู้ป่วยที่ถูกสุนัขบ้ากัด หรือป้องกันโรคบาดทะยัก หรือใช้ยับยั้งพิษอันตรายที่เกิดจากการถูกงู หรือ สัตว์มีพิษกัด

อย่างไรก็ตาม การใช้ Polyclonal antibody ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่บ้างเนื่องจาก Polyclonal antibody นั้นผลิตได้จาก serum ของสัตว์จึงผลิตได้น้อย นอกจากนี้ความหลากหลายในการจับกับส่วนต่างๆ ของ แอนติเจน ทำให้เกิดความแปรปรวณต่อความแรง (affinity) และความจำเพาะในการจับกับ แอนติเจน เป้าหมายด้วย และที่มากกว่านั้นยังอาจเกิดการจับข้าม (cross-reactivity) กับ สิ่งมีชีวิตที่มี genus หรือ species ใกล้เคียงกัน

Monoclonal antibody

Monoclonal antibody เป็นลักษณะของแอนติบอดีที่มีความสามารถในการจับกับแอนติเจนได้เพียงส่วนเดียวเท่านั้น เนื่องจากเป็นโมเลกุลของแอนติบอดีเพียงชนิดเดียว ทำให้จับได้เฉพาะส่วนเล็กๆของแอนติเจนเท่านั้นโดย Monoclonal antibody ไม่ใช่แอนติบอดี ทีเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่ถูกสร้างขึ้นจากเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ เพื่อการศึกษาและการประยุกต์ใช้ความสามารถในการจับกันอย่างเฉพาะเจาะจงระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจน โดยทั่วไป Monoclonal antibody นั้นผลิตได้จากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ทดลองด้วย แอนติเจนที่ต้องการ แล้วใช้เทคนิคในการสร้างเซลล์ลูกผสม (Hybridoma technology) ระหว่าง B lymphocyte ที่มีหน้าที่ในการผลิตแอนติบอดี และ myeloma cell หรือเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเพื่อการเพิ่มจำนวน

ถึงแม้ Polyclonal และ Monoclonal antibody จะมีความแตกต่างกันอยู่บ้างแต่ทั้งสองชนิดกับมีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพหลายด้าน อย่างเช่นการป้องกันรักษาโรค ไม่ว่าจะเป็นโรคในคน พืช หรือ สัตว์ รวมทั้งประยุกต์ใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของยีนส์และโปรตีนต่างๆ โดยปัจจุบัน ทางบริษัท สมาร์ท ไซเอนซ์ จำกัด ก็ได้มีการให้บริการด้านการผลิตแอนติบอดี ทั้ง แบบ Polyclonal และ Monoclonal antibody โดยสามารถเลือกใช้บริการได้ตามความต้องการของทุกท่าน ซึ่งขั้นตอนนั้นง่ายดายและไม่ซับซ้อน

ขั้นตอนการ Order Polyclonal และ Monoclonal antibody

  1. Your desired target protein (Uniprot/NCBI number)
  2. Required antigen (Protein, peptide).
  3. Desired Package (Polyclonal, monoclonal)
  4. Optional: Antigen Design Report

(FREE, we will suggest antigenic regions of your target protein).

 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้