หลักการทำงานของเครื่อง Autoclave การดูแลรักษาและตรวจเช็คประสิทธิภาพของเครื่องหลังการใช้งาน

7557 จำนวนผู้เข้าชม  | 

หลักการทำงานของเครื่อง Autoclave การดูแลรักษาและตรวจเช็คประสิทธิภาพของเครื่องหลังการใช้งาน

เครื่อง Autoclave หรือหม้อนึ่งความดันไอ เป็นเครื่องที่ใช้กระบวนการฆ่าเชื้อที่สูงอุณหภูมิและความดัน โดยความดันที่สูงขึ้นจะทำให้จุดเดือดของน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิในการฆ่าเชื้อเพิ่มขึ้น แรงดันสูงยังช่วยให้ความร้อนกระจายตัวภายในวัสดุได้อย่างรวดเร็ว ไอน้ำที่ถูกสร้างขึ้นจะทำให้โปรตีนในจุลินทรีย์แข็งตัว จนทำให้จุลินทรีย์ถูกฆ่าในที่สุด โดยทั่วไปแล้วหม้อนึ่งความดันไอ จะใช้อุณหภูมิประมาณ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลาประมาณ 15-20 นาที จึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการฆ่าเชื้อ อย่างไรก็ตามในการทำงานอาจปรับรอบการนึ่งฆ่าเชื้อตามความเหมาะสมได้ จะเห็นว่าหม้อนึ่งความดันไอขึ้นอยู่กับปัจจัยสามประการ ได้แก่ ความดัน อุณหภูมิ และเวลา ปัจจัยทั้งสามนี้ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างไอน้ำอิ่มตัวภายในกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งสามารถฆ่าจุลินทรีย์ทั้งหมดได้ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบพืชหรือสปอร์ก็ตาม หม้อนึ่งความดันไอถูกใช้เพื่อทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรค จุลินทรีย์ และสปอร์ต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนในอุปกรณ์ ในทางการแพทย์และห้องปฎิบัติการ

หลักการทำงานของหม้อนึ่งไอน้ำภายใต้ความดัน

  • การทำงานของหม้อนึ่งไอน้ำใช้หลักการแทนที่อากาศภายในหม้อนึ่งด้วยไอน้ำ  เมื่อน้ำในหม้อนึ่งชั้นนอกได้รับความร้อนจนเดือดกลายเป็นไอ จะกระจายอยู่รอบๆ ภายในหม้อนึ่งชั้นนอก  และกระจายเข้าหม้อนึ่งชั้นในจากบริเวณด้านบน และแทรกซึมเข้าไปในห่ออุปกรณ์ที่อยู่ภายในหม้อนึ่ง พร้อมทั้งผลักดันอากาศภายในหม้อนึ่งที่เย็นกว่าออกไป  
  • ทางด้านล่างของหม้อนึ่ง และระบายออกทางท่อระบายอากาศด้านล่างไปสู่ภายนอกบริเวณฝาครอบของหม้อนึ่งด้านบน  เมื่อพบว่ามีไอน้ำพุ่งออกมาอย่างแรงเป็นเวลาประมาณ 4 – 5 นาที แสดงว่าอากาศภายในหม้อนึ่งถูกแทนที่ด้วยไอน้ำหมดแล้ว จึงปิดปุ่มควบคุมความดันโดยการโยกปุ่มปรับให้อยู่ในแนวนอน (ดังภาพ)  ความดันจะกระจายอยู่ภายในหม้อนึ่งและปรากฏออกมาที่มาตรวัดความดัน  เมื่อความดันถึง 17 – 19 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว  จึงจับเวลาที่ใช้ในการทำให้ปราศจากเชื้อนานอย่างน้อย 35 นาที
  • การทำให้ปราศจากเชื้อโดยเครื่องชนิดนี้ การห่อและการจัดเรียงอุปกรณ์มีความสำคัญมาก เนื่องจากถ้าห่อขนาดใหญ่หรือบรรจุห่ออุปกรณ์เข้าในหม้อนึ่งมากเกินไปจนแน่นหรือจัดวางไม่เหมาะสม อากาศภายในหม้อนึ่งบางส่วนไม่สามารถถูกแทนที่โดยไอน้ำร้อนได้ จะทำให้ห่ออุปกรณ์ที่อยู่ในส่วนนั้นไม่ปราศจากเชื้อ

Operation


 

  1. Turn on the power
  2. Filling the distilled water
  3. Select sterilization program
  4. Running the sterilization program.
    • You can close the door after the tray is placed well.
    • Start the sterilization process
  5. Sterilization cycle completion
  6. After the device runs, the printer automatically prints


การตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องยังทำการฆ่าเชื้อได้สมบูรณ์โดยทั่วไปจะมีการทดสอบดังนี้

  1. การตรวจสอบทางกลไก เป็นการตรวจวัดอุณหภูมิ การวัดความดัน และสัญญาณไฟทั้งหลายรวมถึงกราฟการทำงานของเครื่องในแต่ละขั้นตอน เป็นข้อมูลที่สำคัญและเป็นตัวบ่งชี้แรกที่ช่วยให้ผู้ใช้ทราบว่าเครื่อง Sterilizer กำลังทำงานอย่างปกติหรือไม่
  2. การตรวจสอบทางเคมี เป็นการทดสอบอุณหภูมิ ความดัน เวลา โดยทำให้ตัวทดสอบทางเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อยืนยันว่าวัสดุได้ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
    • Autoclave Tape เป็นการทดสอบอุณหภูมิ ซึ่งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่อง ไม่ใช่การทดสอบการฆ่าเชื้อโดยตรง
    • Bowie-Dick test เป็นการทดสอบประสิทธิภาพการนำอากาศออกสำหรับเครื่องนึ่งชนิด Pre-vacuum เท่านั้น การกระจายตัวของไอน้ำและอุณหภูมิภายในเครื่อง
    • Helix test เป็นการทดสอบการกระจายตัวของไอน้ำและอุณหภูมิภายในเครื่อง
    • Vacuum test เป็นการทดสอบการทำงานของระบบปั๊มในตัวเครื่อง
  3. การตรวจสอบทางชีวภาพ ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพประกอบด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อและจุลินทรีย์สูตรพิเศษคือสปอร์ของ G. stearothermophilus ที่ทราบกันว่าทนทานต่อการฆ่าเชื้อ เพื่อดูว่าสามารถอยู่รอดได้หรือไม่หลังผ่านการทำงานของเครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ เป็นการยืนยันว่าวัสดุปราศจากเชื้อ

การดูแลรักษา

  • ทำทุกวัน ทำความสะอาดบริเวณประตูและพื้นผิวภายนอกด้วยผ้าไร้ขนชุบแอลกอฮอล์หรือน้ำกลั่น
  • ทำทุกสัปดาห์ ทำความสะอาดภายในตัวถังของเครื่องด้วยผ้าไม่มีขนชุบแอลกอฮอล์หรือน้ำกลั่น
  • ทำทุก 3 ถึง 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งาน) ควรทำการเปลี่ยนตัวกรองแบคทีเรีย เพื่อรักษาการปลอดเชื้อภายในตัวเครื่อง
  • ทำทุก 6 เดือน (ขึ้นอยู่กับความถี่ในการใช้งานและคุณภาพน้ำ) ทำความสะอาดสวิตช์ลูกลอย (water level float) และคอยล์เย็น (evaporator) โดยการถอดออกจากตัวเครื่องและใช้แปรงทำความสะอาด แนะนำให้ทำโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • ทำทุกปี เปลี่ยนยางที่ขอบประตู ตรวจสอบการทำงานของวาล์วนิรภัย ตรวจสอบภายในตัวเครื่อง เช่น ท่อภายในตัวเครื่องยังเชื่อมต่อปกติ อะไหล่ยังทำงานปกติ

 

>> เยี่ยมชมสินค้า Autoclave คลิก <<

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้